ระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ (Learning
Resources Linkage System)
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านแหลม
จังหวัดเพชรบุรี
QR
CODE คู่มือการใช้ระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้
(Learning
Resources Linkage System)
thesis.grad.chula.ac.th/readfile1.php?fn=ab5083837027.doc
พรรณทิพา บัวคำ : ประสิทธิภาพการให้บริการห้องสมุดของมหาวิทยาลัยของรัฐ : การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล. (THE EFFICIENCY OF PUBLIC UNIVERSITIES’ SERVICES : A DATA ENVELOPEMENT ANALYSIS) อ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ. ดร. อวยพร เรืองตระกูล, 141 หน้า.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการทางการศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ
2) วิเคราะห์ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ
โดยใช้โมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น
และโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลายด้วยการวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
โดยอัตราการตอบกลับของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้งหมด 24 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 100.00
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล
ส่วนประชากรที่ใช้ในโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย คือ นิสิต นักศึกษา
ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง
คือ นิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 707 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล (Data
Envelopment Analysis) โดยใช้โปรแกรม Frontier Analyst
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1.
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการทางการศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น
มีห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพจำนวน 21 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพ 100.00%) และด้อยประสิทธิภาพจำนวน 3 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพระหว่าง 64.29%-้นต้นลโมเดลประสิทธิภาพระยะสั้นุ่มตัวอย่าง
นิสิต นักศึกษาของ82.31%)
ส่วนผลการวิเคราะห์โมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย
มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีประสิทธิภาพจำนวน 18 แห่ง
(ค่าประสิทธิภาพ 100.00%) และด้อยประสิทธิภาพจำนวน 6 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพระหว่าง 70.80% -้นต้นลโมเดลประสิทธิภาพระยะสั้นุ่มตัวอย่าง
นิสิต นักศึกษาของ95.18%)
2.
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐนำเสนอโดยใช้รูปแบบการเพิ่มผลผลิตในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น
พบว่า ผลผลิตที่ควรเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ จำนวนสมาชิก รองลงมาเป็น
จำนวนวารสารโสตทัศนวัสดุและทัศนูปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ต่อปี
และจำนวนการใช้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดต่อเดือน
สำหรับโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย ผลผลิตที่ควรเพิ่มมากที่สุด คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านทรัพยากรสารสนเทศ
รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านการสืบค้น
และความพึงพอใจด้านสถานที่ และด้านผู้ให้บริการ
|
thesis.grad.chula.ac.th/readfile1.php?fn=ab5084867028.doc
ทวีศักดิ์ ชื่นพิทยาวุฒิ : การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการโฆษณา และบทความ เชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์. (THE COMPARISON OF EFFECTIVENESS BETWEEN PRINT ADVERTISING AND ADVERTORIAL) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: รศ. ดร.
การศึกษาวิจัยเรื่อง
“การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการโฆษณา
และบทความเชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิจัยการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการโฆษณา
และบทความเชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการโฆษณา
และบทความเชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีผลต่อการรู้จักตราสินค้า และ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการโฆษณา
และบทความเชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านความเข้าใจเนื้อหา
ความชอบ ความน่าเชื่อถือ และความตั้งใจซื้อโดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental
research) ผู้เข้าร่วมการศึกษาเชิงทดลองในครั้งนี้ คือ
นิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างช่วงภาคการศึกษาที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2551
จำนวน 160 คน ในช่วงเดือนกันยายน 2551
ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลของการโฆษณาและบทความเชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์มีผลต่อ การรู้จักตราสินค้าไม่แตกต่างกัoส่วนประสิทธิผลของการโฆษณาและบทความเชิงโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านความเข้าใจเนื้อหา
ความน่าเชื่อถือ และความตั้งใจซื้อแตกต่างกัน แต่ด้านความรู้สึกไม่แตกต่างกัน โดยในด้านความน่าเชื่อถือค่าเฉลี่ยของบทความเชิงโฆษณาของทุกประเภทสินค้า
คือ น้ำส้มคั้นพร้อมดื่ม เจลล้างหน้า โทรศัพท์มือถือ
และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมีค่าเฉลี่ยมากกว่าชิ้นงานโฆษณาเมื่อเปรียบเทียบระหว่างตราสินค้าในประเภทสินค้าเดียวกัน
|
thesis.grad.chula.ac.th/readfile1.php?fn=ab5478338939.doc
ศโรธร เร่งสมบูรณ์สุข : แนวทางการพัฒนาการจัดการศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (GUIDELINES FOR THE DEVELOPING MANAGEMENT OF CHULALONGKORN UNIVERSITY SPORTS CENTER) อ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ.เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย, 245 หน้า.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยใช้แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน ในการเก็บข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน กลุ่มผู้บริหาร จำนวน
2 คน กลุ่มคณะกรรมการบริหารศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จำนวน 2 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
400 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการศูนย์กีฬา
ทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมเป็นจำนวน 6 คน
ประเมินแนวทางด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index
Objective-Item Congruence: IOC)
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีดังนี้
ทรัพยากรในการจัดการ
1. ด้านการจัดการมนุษย์หรือบุคคล ได้แก่
ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่มีความรู้ ในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการดำเนินงาน และมีขอบเขตหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน
2. ด้านการจัดการการเงินและงบประมาณ
ได้แก่ ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีการชี้แจงและแจกแจงรายละเอียดของงบประมาณที่บริหาร
และมีค่าสมัครสมาชิกที่มีความเหมาะสม
3. ด้านการจัดการวัตถุดิบ ได้แก่
ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีสนามและอุปกรณ์กีฬาอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมีความปลอดภัย
และมีที่จอดรถที่เพียงพอและสะดวกต่อการเข้าใช้
4. ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ได้แก่ ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีเว็บไซต์มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ
ที่องค์กรจัดขึ้น มีข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ และในการเข้าใช้ต้องมีความรวดเร็ว
กระบวนการจัดการ
1.
ด้านการวางแผน ได้แก่ ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีนโยบายและแผนพัฒนางาน สอดคล้องกับแผนนโยบายของจุฬาฯ
วัตถุประสงค์ของศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ และมีการกำหนดแผนระยะสั้นและระยะยาว
2. ด้านการปฏิบัติ ได้แก่
ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องให้บริการเพื่อประโยชน์ด้านการเรียน การสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัย
มีการให้บริการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแก่สมาชิกของศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ
และประชาชนทั่วไป
3. ด้านการตรวจสอบ ได้แก่
ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีการประเมินผลในการให้บริการด้านกีฬาแก่สมาชิก
มีการติดตามความคืบหน้าของงานเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่างานได้รับการปฏิบัติไปอย่างไร
มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนและวัตถุประสงค์ของศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ
4.ด้านการปรับปรุง
ได้แก่ ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ ต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนการปรับปรุงการปฏิบัติงาน
การจัดวัสดุอุปกรณ์รวมถึงสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
และมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับยุคสมัย
|
สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การกีฬา ลายมือชื่อนิสิต……………………………………..
|
ปีการศึกษา
2555 ลายมือชื่อ
อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก……………
|
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52003
เอกฉัตร คลี่ขจาย : การศึกษาการบริหารโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (A STUDY OF THE ADMINISTRATION OF CHULALONGKORN UNIVERSITY HEALTH PROMOTION PROJECT) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ.เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย, 155 หน้า
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในด้านทรัพยากรบริหาร กระบวนการบริหาร
และผลการดำเนินงานของโครงการบ้านนี้มีสุข ระยะที่ 1 และโครงการบ้านนี้มีสุข
กำลัง 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การสัมภาษณ์และการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เป็น
คณะกรรมการบริหารโครงการบ้านนี้มีสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน และคณะทำงานภายในโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งโครงการบ้านนี้มีสุข ระยะที่ 1 จำนวน
43 โครงการ และบ้านนี้มีสุขกำลัง 2
จำนวน 41 โครงการ เลือกโครงการละ 1 คน
รวม 84 คน และใช้แบบสำรวจเชิงประจักษ์
ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ศึกษาด้วยตนเอง นำข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่ศึกษามานำเสนอในรูปแบบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
การบริหารโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า
1. ทรัพยากรบริหาร ประกอบด้วย ด้านบุคลากร
มีจำนวนเพียงพอ มีความรู้และความเชี่ยวชาญในงาน ด้านการเงินและงบประมาณ
มีงบประมาณเพียงพอจนเสร็จสิ้นโครงการ ด้านสถานที่
วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก มีจำนวนเพียงพอ มีความสะดวกสบาย และมีคุณภาพ
และด้านการจัดการ มีการวางแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนงาน
และควบคุมให้เป็นไปตามแผนงาน
2. กระบวนการบริหารโครงการ
มีการดำเนินงานดังนี้ การวางแผน
มีการวางแผนการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ การจัดองค์กร
มีการกำหนดโครงสร้าง และหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน การบริหารบุคคล
มีการคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถให้ตรงกับงานที่ทำ การอำนวยการ
มีการสั่งงานเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับหน้าที่หลัก และสั่งงานด้วยวาจาในงานเร่งด่วน
และการควบคุม มีการควบคุมตรวจสอบการทำงานให้ตรงตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้
รายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ
และประเมินผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
3. ผลการดำเนินงานของโครงการบ้านนี้มีสุข ระยะที่ 1 สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
และบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้
แต่พบว่ายังมีปัญหาด้านข้อมูลสุขภาพในการกำหนดทิศทางการสร้างเสริมสุขภาพ
การบริหารงบประมาณ การติดต่อประสานงานหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ระยะเวลาในการดำเนินงานไม่เพียงพอ และความร่วมมือของหน่วยงาน
ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ส่วนผลการดำเนินงานของโครงการบ้านนี้มีสุข กำลัง 2
ประสบผลสำเร็จในการเป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบงานของมหาวิทยาลัย
ส่งผลต่อความยั่งยืนของความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
ทรัพยากรบริหารและกระบวนการบริหารสามารถทำให้โครงการบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
โดยผลการดำเนินงานโครงการประสบความสำเร็จในการพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ
และเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เมื่อสิ้นสุดโครงการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นแบบอย่างการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพให้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น
|
|
สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การกีฬา
|
ลายมือชื่อนิสิต
|
ปีการศึกษา 2554
|
ลายมือชื่อ อ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
|