thesis.grad.chula.ac.th/readfile1.php?fn=ab5083837027.doc
พรรณทิพา บัวคำ : ประสิทธิภาพการให้บริการห้องสมุดของมหาวิทยาลัยของรัฐ : การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล. (THE EFFICIENCY OF PUBLIC UNIVERSITIES’ SERVICES : A DATA ENVELOPEMENT ANALYSIS) อ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ. ดร. อวยพร เรืองตระกูล, 141 หน้า.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการทางการศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ
2) วิเคราะห์ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ
โดยใช้โมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น
และโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลายด้วยการวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
โดยอัตราการตอบกลับของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้งหมด 24 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 100.00
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล
ส่วนประชากรที่ใช้ในโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย คือ นิสิต นักศึกษา
ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง
คือ นิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 707 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล (Data
Envelopment Analysis) โดยใช้โปรแกรม Frontier Analyst
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1.
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้บริการทางการศึกษาของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น
มีห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพจำนวน 21 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพ 100.00%) และด้อยประสิทธิภาพจำนวน 3 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพระหว่าง 64.29%- 82.31%)
ส่วนผลการวิเคราะห์โมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย
มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีประสิทธิภาพจำนวน 18 แห่ง
(ค่าประสิทธิภาพ 100.00%) และด้อยประสิทธิภาพจำนวน 6 แห่ง (ค่าประสิทธิภาพระหว่าง 70.80% - 95.18%)
2.
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐนำเสนอโดยใช้รูปแบบการเพิ่มผลผลิตในโมเดลประสิทธิภาพขั้นต้น
พบว่า ผลผลิตที่ควรเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ จำนวนสมาชิก รองลงมาเป็น
จำนวนวารสารโสตทัศนวัสดุและทัศนูปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ต่อปี
และจำนวนการใช้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดต่อเดือน
สำหรับโมเดลประสิทธิภาพขั้นปลาย ผลผลิตที่ควรเพิ่มมากที่สุด คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านทรัพยากรสารสนเทศ
รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านการสืบค้น
และความพึงพอใจด้านสถานที่ และด้านผู้ให้บริการ
|
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562
บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ เรื่อง ประสิทธิภาพการให้บริการห้องสมุดของมหาวิทยาลัยของรัฐ : การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล. (THE EFFICIENCY OF PUBLIC UNIVERSITIES’ SERVICES : A DATA ENVELOPEMENT ANALYSIS)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น